|
|
|
ขั้นตอนที่ 1
|
หอยจุกพราหมณ์ หรือ หอยสังข์จุกพราหมณ์ (Noble volute) เป็นหอยทะเลฝาเดียว ขนาด 5-15 ซม. เปลือกหนา ผิวเรียบ สีน้ำตาลอ่อนลายซิกแซกสีน้ำตาลเข้ม อาศัยตามหาดโคลนในเขตน้ำขึ้นน้ำลง ความลึกประมาณ 15-20 เมตร ที่เลือกใช้หอยสังข์ เพราะหอยชนิดนี้มีเปลือกหนา ทนต่อการกระแทกและหอยชนิดนี้ยังมีตัวใหญ่พอที่จะดักจับหมึกสายได้ ( กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง:. 2563: ออนไลน์:)
จากการศึกษาพบว่า การนำหอยสังข์มาตัดแล้วทำเป็นเครื่องมือดักจับตัวหมึกสายนั้นเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านของคนในพื้นที่หมู่ที่5 ตำบลละแมอำเภอละแม จังหวัดชุมพร ที่นำมาใช้ในการทำเป็นเครื่องมือดักจับหมึกสายในการเลือกหอยสังข์มาตัด 3 ส่วนออกให้ได้ขนาดเล็กลงเพื่อทำให้ตัวหมึกสายเข้าไปในหอยสังข์ได้สะดวก
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 2
|
โดยวิธีการตัดนั้นจะใช้บล็อคตะปูเพื่อไว้ยึดหอยทั้ง4มุมเพื่อไม่ให้หอยสังข์เคลื่อนตอนตัด และจะตัดด้วยเครื่องเจียรไฟฟ้า หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า ลูกหมู ขั้นตอนในการตัดหอยสังข์มีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ 2.1.ตัดปลายขอบด้านหัวออกเพราะจะทำไห้เมื่อวายเข้าไปแล้วสามารถเข้าไปได้ง่ายแล้วจะทำไห้น้ำในตัววายสามารถไหลออกมาง่าย 2.2.ตัดด้านท้ายเพื่อให้น้ำหนักทั้งสองข้างสมดุลกัน 2.3.ตัดขอบเปลือกด้านท้องให้เรียบเพื่อไม่ให้เกิดความคมของหอย(ประยงค์ ฤทธิโสม : 2563 ) จากการศึกษาจะเห็นว่า เครื่องมือที่ใช้ในการตัดหอยสังข์นั้นจะใช้บล็อคตะปูเพื่อยึดตัวหอยเอาไว้แล้วใช้ ลูกหมูตัดส่วนหัว ส่วนท้าย ส่วนกลางออก เพื่อให้ตัวหมึกสายสามารถเข้าไปได้ง่ายจะเห็นได้ว่าหอยสังข์มีขนาดเล็กลงเพื่อให้สะดวกต่อการจับหมึกสายหรือเป็นการเพิ่มจำนวนในตระกร้าจาก 160-200 ตัว เพื่อสะดวกในการวางและเก็บ
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 3
|
เจาะรูด้านท้ายสำหรับร้อยกับเชือกคร่าว เชือกคร่าวใช้เชือกไยยักษ์ (Polypropylene) ด้วยสว่านไฟฟ้า เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 มม เชือกห่างกันประมาณ 2 เมตร เป็นตัวล่อให้หมึกสายเข้ามาอาศัย ผูกเข้ากับเปลือกหอยลักษณะเป็นราวต่อกัน เมื่อร้อยหอยสังข์เสร็จแล้วเรานำที่ร้อยเชือกแล้วทั้งหมดนำมาใส่ลงไปในภาชนะที่จะนำไปใช้ใส่หอยสังข์ที่เจาะรูพร้อมที่จะนำไปวางลงในทะเลประมาณ160-200ตัว(ประยงค์ ฤทธิโสม :. 2563:) จากการสังเกตเห็นว่าการที่เราเจาะรูเพื่อร้อยเชือกนั้นจะเกิดความสะดวกในการนำหอยสังข์ที่เจาะรูร้อยเชือกเสร็จแล้วจะนำลงไปปล่อยในทะเลได้สะดวก และยังสะดวกในการเก็บขึ้นมาอีกด้วย เมื่อหอยชำรุดเราสามารถเปลี่ยนตัวหอยได้เนื่องจากเราผูกเชือกไว้แบบคลายตัวสามารถปล่อยได้ ซึ่งเหมาะแก่การเปลี่ยนตัวหอยสังข์ที่ชำรุดและใส่หอยตัวใหม่เข้าไปแทนได้
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 4
|
วางลอบเป็นแถวขนานกับชายฝั่งซึ่งมีระยะห่างประมาณ2เมตร ซึ่งใช้ทุ่นปูนซีเมนต์ยึดหัวและท้ายแถวเพื่อป้องกันการเคลื่อนที่ของแนวลอบ ผูกทุ่นธงต่อกับทุ่นปูนซีเมนต์เพื่อแสดงตำแหน่งของลอบเมื่อปล่อยหอยสังข์ลงทะเลหมดแล้วเราจะปล่อยไว้ประมาณ 2 วันจะกู้ที่นึง(ประยงค์ ฤทธิโสม :. 2563:)
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 4
|
เมื่อครบ 2 วันแล้วชาวประมงก็ใช้เรือเล็ก หรือเรือใหญ่ออกทะเลลงไปเก็บหอยขึ้นมาโดยวิธีการเก็บจะใช้วิธีการสาวขึ้นมาไว้บนเรือ โดยเก็บตอนจะมีคนประมาณ2-3คน คนนึงจะเป็นคนเก็บหอยขึ้นมา อีกคนเขาอาจจะถือหางเสือเพื่อไปตามเส้นที่เก็บ โดยการเก็บขึ้นมาขึ้นมาบนเรือจะใช้วิธีการสาวขึ้นมา
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่ 6
|
เมื่อเราได้หอยมาแล้วเราจะเห็นตัวหมึกออกมาจากหอยสังข์แล้วเราก็จะทำไห้หมึกสายนั้นออกมาโดยมีเทคนิคอยู่ 3 อย่างคือ
1. ปล่อยให้หมึกสายออกมาเองโดยธรรมชาติคือเมื่อหมึกขาดน้ำเค็มมันจะคลานออกมาเองตามธรรมชาติ
2. ใช้น้ำจืดโดยการจุ่มลงไปในถังน้ำจืดเนื่องจากสภาพน้ำที่หมึกไม่คุ้นเคยมันก็จะคลานออกมาทันทีเพราะหมึกสายจะไม่ถูกกับน้ำจืด คือการใช้นำเค็มฉีดเข้าไปในหอยสังข์เพื่อให้ตัวหมึกออกมา
3. ใช้น้ำเค็มหรือน้ำที่มีความเข้มข้นสูง
จากการศึกษาจะเห็นว่า การนำตัวหมึกออกมมาจากตัวหอยนั้นจะมีวิธีการที่จะทำไม่เหมือนกันแล้วแต่ชาวบ้านบางคนว่าเขาจะเลือกใช้วิธีไหนแต่การนำตัวหมึกออกมานั้นมีเทคนิคอยู่ 3 อย่าง คือ ปล่อยให้หมึกสายออกมาเองโดยธรรมชาติ คือเมื่อหมึกขาดน้ำเค็มมันจะคลานออกมาเองตามธรรมชาติ ในส่วนที่ใช้น้ำจืดโดยการจุ่มลงไปในถังน้ำจืด เนื่องจากสภาพน้ำที่หมึกไม่คุ้นเคยมันก็จะคลานออกมาทันที และใช้น้ำเค็มหรือน้ำที่มีความเข้มข้นสูง คือการใช้นำเค็มฉีดเข้าไปในหอยสังข์เพื่อให้ตัวหมึกออกมา
|
|