แหล่งท่องเที่ยวและของดี อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

แหล่งท่องเที่ยวและของดี

อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

เรือใบโบราณละแม จ.ชุมพร

ปัจจุบันหาชมได้ยาก จึงได้มีการอนุรักษ์ ผ่านกิจกรรมเปิดโลกทะเลละแม ช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี

เรือใบโบราณละแม จ.ชุมพร

ปัจจุบันหาชมได้ยาก จึงได้มีการอนุรักษ์ ผ่านกิจกรรมเปิดโลกทะเลละแม ช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี

แหล่งท่องเที่ยวและของดี

อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

เรือใบโบราณละแม จ.ชุมพร

ปัจจุบันหาชมได้ยาก จึงได้มีการอนุรักษ์ ผ่านกิจกรรมเปิดโลกทะเลละแม ช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี

บ่อน้ำพุร้อน ถ้ำเขาพลู

บ่อน้ำร้อนจำนวน 3 บ่อและมีชื่อเรียกคล้องจองกันคือ เอื้ออารีย์ธารทิพย์ อมฤตธารา และพฤกษาชลธาร

แหล่งท่องเที่ยวและของดี

อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

เครื่องมือประมงพื้นบ้าน

สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม

ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมู่ที่ 4 บ้านทรายคือเครื่องจักสาน นับว่าเป็นงานหัตถกรรมท้องถิ่น ที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นไทยมาตั้งแต่โบราณเนื่องจากชีวิตความเป็นอยู่ในแบบสังคมเป็นวิถีชีวิตที่พึ่งพาธรรมชาติจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือในการดำรงชีพเช่น อุปกรณ์ห่อหุ้มอาหาร น้ำ หรืออุปกรณ์ในการจับสัตว์น้ำเพื่อนำมาเป็นอาหารในการดำรงชีพ ฯลฯ ทั้งนี้ได้จัดทำขึ้นจากวัสดุจากธรรมชาติไม้ไผ่หรือหวาย จากฝีมือความคิด ภูมิปัญญาของชาวบ้านมีลักษณะรูปทรงแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น การจักรสารนั้นมีมานานตั้งแต่ในอดีตสืบทอดกันมาเลื่อยๆจนถึงปัจจุบันเรียกได้ว่ามีความสำคัญมากอย่างยิ่งเพราะทำให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นได้สืบทอดมายาวนานซึ่งในการจักรสารนั้นจะมีรูปแบบลวดลายที่ได้รับความสนใจ ประกอบไปด้วยการจักรสารจากไม้ไผ่และหวายนั้นมีความแข็งแรงและทนทาน ซึ่งได้ใช้ประโยชน์จากการจักรได้เยอะไม่ว่าจะเป็นตะกร้าที่นำไม้ไผ่มาสาร หรือแม้กระทั้งเครื่องมือทางการประมงน้ำจืดนั้นเอง

ในการทำเครื่องจักสารครั้งนี้เป็นการสอนมาเป็นรุ่นต่อรุ่นและนาย ฉะอ่อน ตโลกาล คือรุ่นสุดท้ายของตระกลู เพราะไม่มีใครสืบทอดต่อในการสารเนื่องจากเด็กรุ่นใหม่ไม่ให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาท้องถิ่นกันสักเท่าไหร่อาจะเป็นเพราะคิดว่าหากซื้อพวกสำเร็จรูปอาจจะสะดวกและง่ายกว่าในการทำเครื่องจักรสารครั้งนี้คือสุ่มจับปลานั้นเอง สุ่มจับปลามีความสำคัญต่อชาวประมงพื้นบ้านในสมัยก่อนมากสมัยก่อนคนรุ่นเก่าใช้สุ่มจับปลาในการหาเลี้ยงชีพ และในการหาอาหารประทังชีวิต

จากการสำรวจพบว่าในหมู่ 4 บ้านทรายทองมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญคือ การจักสาร นั้นเองเป็นการใช้วัสดุธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นไม่ไผ่,หวาย ในการทำเครื่องจักสารเป็นการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นในการจักสารจะมีลายเฉพาะของเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยกันซึ่งในการทำสุ่มจับปลานั้นมีลายเฉพาะนั้นคือ “ ลายนกปล้าว” ในการถักซึ่งใช้เชือกถักเพื่อให้เกิดลวดลายขึ้นในสุ่มจับปลานั้นเอง



รวบรวมข้อมูลโดย อาจารย์ ดร.เชษฐ์ ใจเพชร

ขั้นตอนภูมิปัญญา

ขั้นตอนที่ 1
รอไม้ไผ่แห้งหลังจากนั้นเหลาไม้ไผ่ให้เป็นซี่ๆคล้ายๆไม้เสียบลูกชิ้นนั้นเอง ไม้ที่เหลาได้นั้นเองเพื่อนำไม้นี้ไปทำสุ่มดักปลานั้นเองซึ่งมาขนาดความสูง 20 เซนติเมตร
ขั้นตอนที่ 2
นำเชือกมาถักกับไม้ ซึ่งลายที่ถักชื่อลายว่า ลายขัด นั้นเอง ในการถักจะถักเป็นวงกลม
ขั้นตอนที่ 3
หลังจากนั้นกางส่วนไม้ที่ได้ถักออกแล้วเปิดด้านในใส่เหล็กไว้ตรงกลาง และผูกกับไม้ไผ่ เพื่อยึดไม่ให้เหล็กหลุดออกจากไม้
ขั้นตอนที่ 4
หลังจากที่ผูกเหล็กยึดกับไม้ซี่เล็ก ๆแล้ว หลังจากนั้นใช้เชือกถักเป็นผูกขึ้นผูกลงไปเลื่อยๆรอบเหล็กข้างนอก หลังจากใช้วิธีการผูกถักขึ้นลงเสร็จนั้นช่วยให้สุ่มดักปลา แน่นและมีความคงทน
ขั้นตอนที่ 5
หลังจากถักระหว่างหลางเพื่อให้ยึดให้ตัวสุ่มเสร็จหลังจากนั้นทางที่ตรงหัว เป็นการถักเริ่มก่อนจะขึ้นลายนกปล้าว "การถักลายนกปล้าว" คือเป็นการถัก 3 รอบด้วยกันเพื่อความแข็งแรงและคงทน. หลังจากถักลายนกปล้าวครบ3 ครั้ง คือการทำสุ่มดักปลาที่เสร็จสมบูรณ์