แหล่งท่องเที่ยวและของดี อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

แหล่งท่องเที่ยวและของดี

อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

เรือใบโบราณละแม จ.ชุมพร

ปัจจุบันหาชมได้ยาก จึงได้มีการอนุรักษ์ ผ่านกิจกรรมเปิดโลกทะเลละแม ช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี

เรือใบโบราณละแม จ.ชุมพร

ปัจจุบันหาชมได้ยาก จึงได้มีการอนุรักษ์ ผ่านกิจกรรมเปิดโลกทะเลละแม ช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี

แหล่งท่องเที่ยวและของดี

อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

บ่อน้ำพุร้อน ถ้ำเขาพลู

บ่อน้ำร้อนจำนวน 3 บ่อและมีชื่อเรียกคล้องจองกันคือ เอื้ออารีย์ธารทิพย์ อมฤตธารา และพฤกษาชลธาร

แหล่งท่องเที่ยวและของดี

อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

เรือใบโบราณละแม จ.ชุมพร

ปัจจุบันหาชมได้ยาก จึงได้มีการอนุรักษ์ ผ่านกิจกรรมเปิดโลกทะเลละแม ช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี

 
         

ธนาคารไข่หมึก(สาขาเกษตรกรรม)

ธนาคารไข่หมึกของชาวประมงพื้นบ้านได้มีการจัดทำขึ้นเพื่อต้องการที่จะขยายพันธ์ปลาหมึกในท้องทะเลซึ่งในธนาคารไข่หมึกของบ้านทะเลงาม เป็นธนาคารไข่หมึกแห่งแรกของประเทศไทยในการจัดทำครั้งนี้นายสมชาย เซ่งตี้และชาวประมงในพื้นที่ ได้รับการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับธนาคารปลาหมึกจาก อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากศูนย์วิจัยและพัฒนนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนกลาง (ชุมพร) ในการตัดสินใจที่จะทำครั้งแรกนั้นมีความรู้สึกไม่มีความมั่นใจมากนักว่าจะสำเร็จ แต่มีความมั่นใจในตัวอาจารย์และเจ้าหน้าที่จากกรมประมงว่าจะสามารถทำได้แน่นอนประกอบกับการทำในครั้งแรกนั้นได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากเป็นเพราะได้เห็นลูกหมึกจำนวนมากว่ายน้ำเต็มทั่วกระชังทำให้ครั้งแรกผ่านไปได้ด้วยดี จึงมีการทำครั้งต่อไปขึ้นมาเลื่อยๆ

อ่านต่อ


         

เรือใบโบราณ(สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม)

เรือใบโบราณ กำเนิดขึ้นสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นพาหนะที่สำคัญของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง เพื่อการสัญจรทางทะเลซึ่งสมัยนั้นใช้ในการขนของ ขนสินค้ามาขาย และประกอบอาชีพด้านการประมง โดยการนำผืนผ้าดิบมาดัดแปลงเป็นใบเรือ เพื่อรับกับกระแสลมให้เกิดแรงขับ ประกอบกับการใช้หางเสือให้สามารถแล่นเรือไปในทิศทางที่ต้องการ แต่ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาปรับใช้ทดแทนวิธีดังกล่าว ส่งผลให้เรือใบโบราณค่อยๆ เลือนหายไปจากความทรงจำ และ ไม่มีการนำมาใช้อีก (ชมรมรักษ์เรือใบโบราณละแม,2563)

อ่านต่อ


         

ธนาคารปูม้า(สาขาเกษตรกรรม)

ปูม้า เป็นปูทะเลชนิดหนึ่ง อยู่ในสกุล Portunusลักษณะทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนตัว ส่วนอก และส่วนท้อง ส่วนหัวและอกจะอยู่ติดกัน มีกระดองหัวอยู่ตอนบน ทางด้านข้างทั้งสองของกระดองเป็นรอยหยักคล้ายฟันเลื่อย ลักษณะเป็นหนามแหลมข้างละ 9 อัน ขามีทั้งหมด 5 คู่ คู่แรกเปลี่ยนแปลงไปเป็นก้ามใหญ่เพื่อใช้ป้องกันตัวและจับอาหาร ขาคู่ที่ 2-4 มีขนาดเล็ก ปลายแหลม ใช้เป็นขาเดิน ขาคู่สุดท้าย ตอนปลายมีลักษณะเป็นใบพายใช้ในการว่ายน้ำ ขนาดกระดองสามารถโตเต็มที่ได้ราว 15-20 เซนติเมตร(ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งระยอง ปูม้า,2560 : ออนไลน์) ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Blue swimming crab, Flower crab, Blue crab ชื่อวิทยาศาสตร์ : Portunuspelagicus

อ่านต่อ


         

เครื่องมือประมงพื้นบ้าน(สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม)

ภูมิปัญญาท้องถิ่นหมู่ที่ 4 บ้านทรายคือเครื่องจักสาน นับว่าเป็นงานหัตถกรรมท้องถิ่น ที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นไทยมาตั้งแต่โบราณเนื่องจากชีวิตความเป็นอยู่ในแบบสังคมเป็นวิถีชีวิตที่พึ่งพาธรรมชาติจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือในการดำรงชีพเช่น อุปกรณ์ห่อหุ้มอาหาร น้ำ หรืออุปกรณ์ในการจับสัตว์น้ำเพื่อนำมาเป็นอาหารในการดำรงชีพ ฯลฯ ทั้งนี้ได้จัดทำขึ้นจากวัสดุจากธรรมชาติไม้ไผ่หรือหวาย จากฝีมือความคิด ภูมิปัญญาของชาวบ้านมีลักษณะรูปทรงแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น การจักรสารนั้นมีมานานตั้งแต่ในอดีตสืบทอดกันมาเลื่อยๆจนถึงปัจจุบันเรียกได้ว่ามีความสำคัญมากอย่างยิ่งเพราะทำให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นได้สืบทอดมายาวนานซึ่งในการจักรสารนั้นจะมีรูปแบบลวดลายที่ได้รับความสนใจ ประกอบไปด้วยการจักรสารจากไม้ไผ่และหวายนั้นมีความแข็งแรงและทนทาน ซึ่งได้ใช้ประโยชน์จากการจักรได้เยอะไม่ว่าจะเป็นตะกร้าที่นำไม้ไผ่มาสาร หรือแม้กระทั้งเครื่องมือทางการประมงน้ำจืดนั้นเอง

อ่านต่อ


         

หอยจับวาย(สาขาเกษตรกรรม)

เริ่มต้นนายประยงค์ ฤทธิโสม หรือลุงเที่ยง เป็นชาวประมงในพื้นที่หมู่ที่5 ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ซึ่งลุงเที่ยงได้เริ่มทำเครื่องมือประมงลอบหมึกสายขึ้นมาหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า กุ๊งกิ๊งเพื่อนำไปไว้ใช้จับหมึกสายในช่วงเดือนมีนาคม-เดือนเมษายน ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้ลุงเที่ยงได้เริ่มคิดทำขึ้นมาด้วยตัวเองโดยการสังเกตวิธีการทำของชาวบ้านในสมัยก่อนมา แต่ส่วนมากในปัจจุบันนี้ชาวบ้านได้นำวิธีการทำเครื่องมือประมงลอบหมึกสายด้วยวิธีการที่ทันสมัยกว่า เช่นใช้ขวดในการทำเครื่องมือประมงลอบหมึกสายแทนหอยสังข์ในปัจจุบัน แต่ลุงเที่ยงยังใช้การทำเครื่องมือประมงลอบหมึกสายโดยใช้หอยสังข์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหอยจุกพราหมณ์ เพราะหอยชนิดนี้มีเปลือกหนา ทนต่อการกระแทก โดยลุงเที่ยงได้นำมาตัดปลายขอบด้านหัวออกเพราะจะทำไห้เมื่อวายเข้าไปแล้วสามารถเข้าไปได้ง่ายแล้วจะทำไห้น้ำในตัววายสามารถไหลออกมาง่ายตัดด้านท้ายเพื่อให้น้ำหนักทั้งสองข้างสมดุลกัน และตัดขอบเปลือกด้านท้องให้เรียบเพื่อไม่ให้เกิดความคมของหอยสังข์ โดยวิธีการตัดนั้นจะใช้บล็อคตะปูเพื่อไว้ยึดหอยทั้ง4มุมเพื่อไม่ให้หอยสังข์เคลื่อนตอนตัด และจะตัดด้วยเครื่องเจียรไฟฟ้า หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า ลูกหมู และเจาะรูด้านท้ายสำหรับร้อยกับเชือกคร่าว เชือกคร่าวใช้เชือกไยยักษ์ (Polypropylene) ด้วยสว่านไฟฟ้า เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 มมเชือกห่างกันประมาณ 2 เมตร เป็นตัวล่อให้หมึกสายเข้ามาอาศัย ผูกเข้ากับเปลือกหอยลักษณะเป็นราวต่อกัน ( นคเรศ ยะสุข : 2555 : ออนไลน์ )

อ่านต่อ