แหล่งท่องเที่ยวและของดี อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

แหล่งท่องเที่ยวและของดี

อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

แหล่งท่องเที่ยวและของดี

อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

เรือใบโบราณละแม จ.ชุมพร

ปัจจุบันหาชมได้ยาก จึงได้มีการอนุรักษ์ ผ่านกิจกรรมเปิดโลกทะเลละแม ช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี

เรือใบโบราณละแม จ.ชุมพร

ปัจจุบันหาชมได้ยาก จึงได้มีการอนุรักษ์ ผ่านกิจกรรมเปิดโลกทะเลละแม ช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี

แหล่งท่องเที่ยวและของดี

อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

เรือใบโบราณละแม จ.ชุมพร

ปัจจุบันหาชมได้ยาก จึงได้มีการอนุรักษ์ ผ่านกิจกรรมเปิดโลกทะเลละแม ช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี

บ่อน้ำพุร้อน ถ้ำเขาพลู

บ่อน้ำร้อนจำนวน 3 บ่อและมีชื่อเรียกคล้องจองกันคือ เอื้ออารีย์ธารทิพย์ อมฤตธารา และพฤกษาชลธาร

ธนาคารไข่หมึก

สาขาเกษตรกรรม

ธนาคารไข่หมึกของชาวประมงพื้นบ้านได้มีการจัดทำขึ้นเพื่อต้องการที่จะขยายพันธ์ปลาหมึกในท้องทะเลซึ่งในธนาคารไข่หมึกของบ้านทะเลงาม เป็นธนาคารไข่หมึกแห่งแรกของประเทศไทยในการจัดทำครั้งนี้นายสมชาย เซ่งตี้และชาวประมงในพื้นที่ ได้รับการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับธนาคารปลาหมึกจาก อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากศูนย์วิจัยและพัฒนนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนกลาง (ชุมพร) ในการตัดสินใจที่จะทำครั้งแรกนั้นมีความรู้สึกไม่มีความมั่นใจมากนักว่าจะสำเร็จ แต่มีความมั่นใจในตัวอาจารย์และเจ้าหน้าที่จากกรมประมงว่าจะสามารถทำได้แน่นอนประกอบกับการทำในครั้งแรกนั้นได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากเป็นเพราะได้เห็นลูกหมึกจำนวนมากว่ายน้ำเต็มทั่วกระชังทำให้ครั้งแรกผ่านไปได้ด้วยดี จึงมีการทำครั้งต่อไปขึ้นมาเลื่อยๆ

โดยการทำธนาคารไข่หมึกนั้นจะประกอบไปด้วย ลอบหมึกซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการดักจับปลาหมึกซึ่งจะมีลักษณะโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลมจะมีช่องเปิด ให้ปลาหมึกได้เข้าไปข้างในได้ง่าย อีกทั้งยังมีถุงสีขาวริ้วๆเพื่อใช้ในการล่อให้ปลาหมึกเข้าลอบนั้นเองหลักจากที่มีไข่หมึกแล้ว เหลือจากหมึกที่ตกค้างและได้มีการเอาไปใส่ในตาข่ายอวนซึ่งในการทำครั้งแรกนั้นได้ใช้ทุ่นลอยน้ำลูกเล็ก ๆ สีขาวใส่ในอวนอันเล็ก ๆ ทำเป็นถุงเป็นช่อๆเพื่อให้ทุ่นได้ลอยตัวขึ้นซึ่งส่งผลเสียเพราะไข่หมึกได้มีการลอยไปตามกระแสน้ำทั้งนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพของไข่หมึกมาเรื่อยๆ อาจเป็นเพราะในการใช้งานด้วยทุ่นทำให้นายสมชายและชาวประมงไม่มีความถนัดในการใช้งานจากนั้นได้มีการเปลี่ยนมาเป็น ท่อพีวีซี ขนาดวงใหญ่ ใส่ในถุงอวนแบบดั้งเดิมแต่เอาไว้ตรงกลางของอวน ซึ่งทำให้ไข่หมึกได้กระจายตัวไปทั่วอวนส่งผลความลำบากในการใช้งานเช่นกัน และในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นใช้แค่ถุงอวนเพียงอย่างเดียวและนำมาผูกไว้กับตัวกระชัง โยตัวกระชังจะมีขาดกวางยาง 3*2*2 เมตร เป็นจำนวน 2 กระชัง ซึ่งมีการใช้อวนโพลีเอทธิลีนสีแดง จะมีขนาดของตาอวน 0.5 เซนติเมตร กั้นเป็นคอกสี่เหลี่ยมรอบ ๆ ตัวกระชังไว้เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานได้อย่างแท้จริงซึ่งการวางกระชังลอบหมึกจะมีการวางระหว่างแนวปะการังในทะเล มีระยะห่างจากฝั่ง ประมาณ 2-3 ไมล์ทะเล และระดับน้ำมีความลึกประมาณ 4 เมตร เพื่อเป็นการขยายพันธ์ได้ง่ายและมีความอยู่รอดได้มาก หลังจากที่ได้มีการใส่ไข่หมึกที่ยังคงเหลือหรือตกค้างลงนั้นใช้ระยะเวลาประมาณ 6-9 วันเพื่อรอให้มีการฝักตัวและจะพบกับลูกหมึกจำนวนมากในบริเวณกระชังนั้นเอง ปัจจุบันได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งเพราะได้เป็นตัวอย่างในการทำธนาคารไข่หมึกให้กับหลายๆที่ อีกทั้งเป็นการขยายพันธ์ปลาหมึกในท้องทะเลได้มากขึ้นกว่าในอดีตเป็นจำนวนมากทั้งนี้อยู่ที่คุณภาพของน้ำและทิศทางของแรงลมในทะเลด้วยหากระยะเวลานั้นน้ำในทะเล หากน้ำทะเลเน่าเสียจะส่งผลกระทบทำให้ไข่หมึกในกระชังมีโอกาสที่จะรอดค่อนข้างน้อยและขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม

จากการสำรวจธนาคารไข่หมึกของชาวประมงในพื้นที่ หมู่9บ้านทะเลงามพบว่าธนาคารไข่หมึกแห่งนี้คือที่แรกของประเทศไทยและได้รับผลสำเร็จจากการทำตั้งแต่ครั้งแรกซึ่งมีผู้ให้ความรู้รวมไปถึงผู้สนับสนุนในการทำธนาคารไข่หมึกคืออาจารย์คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และศูนย์วิจัยและพัฒนนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนกลาง (ชุมพร) นั้นเองเป็นการสร้างธนาคารไข่หมึกขึ้นเพื่อต้องการขยายพันธ์ปลาหมึกในท้องทะเลเพราะในอดีตพื้นที่แห่งนี้พบปลาหมึกจำนวนน้อย แต่ปัจจุบันพบปลาหมึกในท้องทะเลมากขึ้นซึ่งในการทำนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์มาเลื่อยๆทั้งนี้เพื่อความสะดวกและความถนัดของชาวประมงนั้นเอง



รวบรวมข้อมูลโดย อาจารย์ ดร.เชษฐ์ ใจเพชร

ขั้นตอนภูมิปัญญา

ขั้นตอนที่ 1
ลอบหมึก ซึ่งเป็นเครื่องมือดักจับปลาหมึก ลักษณะโครงลอบโค้งเป็นโค้งรูปครึ่งวงกลม ใช้อวนโพลีเอทธิลีน ขนาดตาอ้วน 2.2 นิ้ว หุ้มโดยรอบและมีช่องปิด ให้หมึกเข้าไปภายในใช้ และใช้ถุงพลาสติกสีขาวตัดเป็นริ้วๆ เพื่อล่อให้ปลาหมึกเข้าลอบ
ขั้นตอนที่ 2
ลักษณะของไข่หมึก จะมีลักษณะกลมๆ สีขาวขุ่น ถ้าหากหมึกมาวางไข่ที่ลอบด้านบนหรือด้านล่างสามารถดึงเชือกปรับได้ทันที่และนี้คือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกิดขึ้นจากความชำนาญและความเคยชินในการลอบและจะพบไข่หมึกที่ได้จะมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ ไข่หมึกหอม และไข่หมึกกระดอง ส่วนใหญ่จะได้เป็นหมึกหอม
ขั้นตอนที่ 3
ในการที่จะปล่อยหมึกลงในกระชังนั้นต้องใส่ไข่หมึกที่เหลือใส่ลงในอวนตาข่ายอันเล็ก ๆ ที่มีขนาดอวนตาข่ายแต่ละอันไม่เท่ากันอยู่ที่การคาดคะเน
ขั้นตอนที่ 4
นำไข่หมึกใส่ลงในอวนตาข่ายเรียบร้อย เพื่อที่จะนำไปผูกไว้กับกระชังไข่หมึกนั้นเอง
ขั้นตอนที่ 5
กระชังซึ่งขนาดของกระชังนั้นจะมีขนาด 3x3x2 เมตร ซึ่งตามมุมจะประกอบไปด้วยถังน้ำ 200 ลิตร เพื่อให้ตัวกระชังได้ลอยน้ำ โดยใช้เวลาในการเพาะไข่หมึกในกระชังโดยประมาณ 3-9 วันนั้นเอง
ขั้นตอนที่ 6
ในการเพาะไข่หมึกจะเป็นระยะเวลา3-9 วันหากได้ไข่หมึกที่กำหนดตามระยะเวลาดังกล่าวแล้วจะมีปลาหมึกที่ตัวเล็กและสามารถออกนอกตาข่ายเพื่อไปเติมโตในทะเลได้และนี้คือการขยายพันธ์ของธนาคารไข่หมึกนั้นเอง