แหล่งท่องเที่ยวและของดี อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

แหล่งท่องเที่ยวและของดี

อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

แหล่งท่องเที่ยวและของดี

อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

เรือใบโบราณละแม จ.ชุมพร

ปัจจุบันหาชมได้ยาก จึงได้มีการอนุรักษ์ ผ่านกิจกรรมเปิดโลกทะเลละแม ช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี

บ่อน้ำพุร้อน ถ้ำเขาพลู

บ่อน้ำร้อนจำนวน 3 บ่อและมีชื่อเรียกคล้องจองกันคือ เอื้ออารีย์ธารทิพย์ อมฤตธารา และพฤกษาชลธาร

เรือใบโบราณละแม จ.ชุมพร

ปัจจุบันหาชมได้ยาก จึงได้มีการอนุรักษ์ ผ่านกิจกรรมเปิดโลกทะเลละแม ช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี

แหล่งท่องเที่ยวและของดี

อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

เรือใบโบราณละแม จ.ชุมพร

ปัจจุบันหาชมได้ยาก จึงได้มีการอนุรักษ์ ผ่านกิจกรรมเปิดโลกทะเลละแม ช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี

ธนาคารปูม้า

สาขาเกษตรกรรม

ปูม้า เป็นปูทะเลชนิดหนึ่ง อยู่ในสกุล Portunusลักษณะทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนตัว ส่วนอก และส่วนท้อง ส่วนหัวและอกจะอยู่ติดกัน มีกระดองหัวอยู่ตอนบน ทางด้านข้างทั้งสองของกระดองเป็นรอยหยักคล้ายฟันเลื่อย ลักษณะเป็นหนามแหลมข้างละ 9 อัน ขามีทั้งหมด 5 คู่ คู่แรกเปลี่ยนแปลงไปเป็นก้ามใหญ่เพื่อใช้ป้องกันตัวและจับอาหาร ขาคู่ที่ 2-4 มีขนาดเล็ก ปลายแหลม ใช้เป็นขาเดิน ขาคู่สุดท้าย ตอนปลายมีลักษณะเป็นใบพายใช้ในการว่ายน้ำ ขนาดกระดองสามารถโตเต็มที่ได้ราว 15-20 เซนติเมตร(ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งระยอง ปูม้า,2560 : ออนไลน์)

ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Blue swimming crab, Flower crab, Blue crab

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Portunuspelagicus

ลักษณะปูม้า

ปูม้า เป็นปูทะเลชนิดหนึ่ง อยู่ในสกุล Portunusลักษณะทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนตัว ส่วนอก และส่วนท้อง ส่วนหัวและอกจะอยู่ติดกัน มีกระดองอยู่ตอนบน ทางด้านข้างทั้งสองของกระดองเป็นรอยหยักคล้ายฟันเลื่อย ลักษณะเป็นหนามแหลมข้างละ 9 อัน ขามีทั้งหมด 5 คู่ คู่แรกเปลี่ยนแปลงไปเป็นก้ามใหญ่เพื่อใช้ป้องกันตัวและจับอาหาร ขาคู่ที่ 2-4 มีขนาดเล็ก ปลายแหลม ใช้เป็นขาเดิน ขาคู่สุดท้าย ตอนปลายมีลักษณะเป็นใบพายใช้ในการว่ายน้ำ ขนาดกระดองสามารถโตเต็มที่ได้ราว 15-20 เซนติเมตร



ซึ่งปูม้าตัวผู้ มีก้ามยาวเรียว มีสีฟ้าอ่อน และมีจุดขาวตกกระทั่วไปทั้งกระดองและก้าม พื้นท้องเป็นสีขาว จับปิ้งเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียวสูง



ปูม้าตัวเมีย มีก้ามสั้นกว่ากระดอง และก้ามมีสีฟ้าอมน้ำตาลอ่อนและมีจุดขาวตกกระทั่วไปทั้งกระดองและก้าม เมื่อถึงฤดูกาลวางไข่ ปูม้าตัวเมียจะมีไข่ติดอยู่บริเวณรยางค์ซึ่งเคยเป็นขาว่ายน้ำในระยะวัยอ่อน โดยในระยะแรกไข่จะอยู่ภายในกระดองต่อมากระดองทางหน้าท้องเปิดออกทำให้เห็นไข่ชัดเจน จึงเรียกปูม้าลักษณะนี้ว่า ปูม้าที่มีไข่นอกกระดอง(นายสุชาติ แสงอรุณ,นายเริงศักดิ์ รัตนิพล : 2563)



รวบรวมข้อมูลโดย อาจารย์ ดร.เชษฐ์ ใจเพชร

ขั้นตอนภูมิปัญญา

ขั้นตอนที่ 1
วงจรชีวิตและระยะของปูม้า ในช่วงที่ไข่ปูม้า 10-15 วัน หรือประมาณ 2 สัปดาห์ ยังมีลักษณะเป็นไข่ที่มีขนาดเล็ก โดยแม่ปู 1 ตัว (ขนาดกระดองกว้าง 9.15-18.84 ซม. ) จะมีไข่ประมาณ 229,538 ถึง 2,859,061 ฟอง ( สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ , 2561 : 7) แล้วเข้าช่วงที่ไข่ปูม้าเปลี่ยนเป็นระยะซูเฮียซึ่งในระยะนี้จะอยู่ประมาณ 10-15 วัน หรือประมาณ 2 สัปดาห์ เช่นกัน หลังจากนั้นเริ่มเปลี่ยนในทางกายภาคมีหาง ก้าม และส่วนหัวจะได้อย่างชัดเจนจนนำไปสู่ระยะตัวปู โดยมีลักษณะเป็นรูปปูมากขึ้นแล้วพัฒนามาเป็นลูกปูม้าวัยอ่อน
ขั้นตอนที่ 2
การเลี้ยงปูม้า วิธีที่ 1 : การเลี้ยงปูม้าในกระชัง ในแบบดั้งเดิมของชาวบ้านเป็นการเลี้ยงปูม้าเพศเมียโดยทำกระชังไว้ในทะเลใกล้เคียงเรือของตนเองซึ่งจะเป็นการเลี้ยงในพื้นที่ของใครของมัน (กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย, 2561 :ออนไลน์)
ขั้นตอนที่ 3
การเลี้ยงปูม้า วิธีที่ 2 : การเลี้ยงปูม้าโดยในถังพลาสติกสีฟ้า ใช้สายออกซิเจนให้กับปูเพศเมียเพื่อทำการฟักไข่เป็นตัว เมื่อปูเพศเมียฟักไข่เป็นตัวแล้วทำการเปิดก็อกด้านล่างเพื่อปล่อยลงสู่ทางท่อ ไหลลงสู่ทะเลในระดับที่น้ำทะเลขึ้นหากน้ำทะเลตื้นที่นำลูกปูม้าที่ฟักแล้วใส่ลงถังก่อนแล้วรอให้น้ำขึ้นปล่อยลงสู่ท่อให้ไหลลงทะเลหรือหากอยู่ใกล้เคียงทะเลสามารถนำถังไปปล่อยลูกปูม้าลงสู่ทะเล
ขั้นตอนที่ 4
ระยะเวลาการเพาะตัว แม่ปูที่มีไข่นอกกระดองจะแบ่งสีไข่ออกเป็น 4 สี คือ “สีส้มเหลือง” ซึ่งเป็นระยะแรกของไข่ปูม้า ในการวิวัฒนาการของลูกปูสู่ระยะซูเอีย (Zoea) ที่เป็นระยะแรกของลูกปูที่สามารถปล่อยลงสู่ทะเลได้ โดยจะใช้เวลาประมาณ 4-5 วัน “สีน้ำตาล” ใช้เวลาพัฒนาการพร้อมฟักที่ 2-4 วัน“สีเทา” ใช้เวลาในการพัฒนาการพร้อมฟักที่ 1-3 วัน และสุดท้าย “สีดำ” ใช้ระยะเวลาพร้อมฟัก 1-2 วัน และแม้จะพบไข่สีเทาและสีดำในท้องแม่ปูที่ตายแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสฟักออกมาเป็นตัวอยู่ โดยในแม่ปู 1 ตัว ที่มีขนาดความกว้างกระดอง 9.15 – 18.84 เซนติเมตร จะผลิตไข่ได้จำนวน 230,000 – 290,000 ฟอง(ดร.วิกิจ ผินรับ,2563 : ออนไลน์)
ขั้นตอนที่ 5
การเพาะตัวปูม้า คือ จะเน้นไข่สีดำโดยนำปูเพศเมียมาเลี้ยงในถังพลาสติกสีฟ้าและให้ก๊าซออกซิเจนโดยใช้ระยะเวลาฟักไข่1-3 วัน จึงฟักเป็นตัวแล้วปล่อยลงสู่ทะเล หากเกิน 5 วันไปแล้วไข่ยังไม่ฟักเป็นตัวแสดงว่าไข่เน่าแล้ว
ขั้นตอนที่ 6
การเลี้ยงแบบหักจับปิ้ง คือ ทำการจับปิ้งไข่ปูเพศเมียที่ไข่สีดำที่ล้นกระดองหน้าท้อง มาเลี้ยงใส่ถังพลาสติกสีฟ้า ใช้สายออกซิเจนในการเลี้ยงแม่ปูม้าเพศเมียเมื่อไข่ปูม้าฟักตัวประมาณ2-3วัน ทำการเปิดก๊อกข้างล่างถังพลาสติกสีฟ้าให้ลูกปูม้าที่ฟักตัวแล้ว ไหลทางท่อสู่ทะเล
ขั้นตอนที่ 7
การปล่อยปูม้า วิธีที่ 1) นำถังไปปล่อยลูกปูม้าในทะเลในกรณีที่น้ำตื้น หรือกรณีอยู่ใกล้เคียงบริเวณชายหาดทะเล
ขั้นตอนที่ 8
การปล่อยปูม้า วิธีที่ 2 : การเปิดก๊อก จำทำการเปิดก๊อกน้ำให้ลูกปูไหลลงทางท่อไปสู่ทะเลที่มีระดับน้ำทะเลพอดีหรือทะเลสูง