แหล่งท่องเที่ยวและของดี อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

บ่อน้ำพุร้อน ถ้ำเขาพลู

บ่อน้ำร้อนจำนวน 3 บ่อและมีชื่อเรียกคล้องจองกันคือ เอื้ออารีย์ธารทิพย์ อมฤตธารา และพฤกษาชลธาร

เรือใบโบราณละแม จ.ชุมพร

ปัจจุบันหาชมได้ยาก จึงได้มีการอนุรักษ์ ผ่านกิจกรรมเปิดโลกทะเลละแม ช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี

แหล่งท่องเที่ยวและของดี

อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

เรือใบโบราณละแม จ.ชุมพร

ปัจจุบันหาชมได้ยาก จึงได้มีการอนุรักษ์ ผ่านกิจกรรมเปิดโลกทะเลละแม ช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี

เรือใบโบราณละแม จ.ชุมพร

ปัจจุบันหาชมได้ยาก จึงได้มีการอนุรักษ์ ผ่านกิจกรรมเปิดโลกทะเลละแม ช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี

แหล่งท่องเที่ยวและของดี

อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

แหล่งท่องเที่ยวและของดี

อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

เรือใบโบราณ

สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม

เรือใบโบราณ กำเนิดขึ้นสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นพาหนะที่สำคัญของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง เพื่อการสัญจรทางทะเลซึ่งสมัยนั้นใช้ในการขนของ ขนสินค้ามาขาย และประกอบอาชีพด้านการประมง โดยการนำผืนผ้าดิบมาดัดแปลงเป็นใบเรือ เพื่อรับกับกระแสลมให้เกิดแรงขับ ประกอบกับการใช้หางเสือให้สามารถแล่นเรือไปในทิศทางที่ต้องการ แต่ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาปรับใช้ทดแทนวิธีดังกล่าว ส่งผลให้เรือใบโบราณค่อยๆ เลือนหายไปจากความทรงจำ และ ไม่มีการนำมาใช้อีก (ชมรมรักษ์เรือใบโบราณละแม,2563)

ดังนั้นจากการที่พื้นที่อำเภอละแมและอำเภอใกล้เคียง เคยมีการใช้เรือใบโบราณอีกทั้งในปัจจุบัน ยังคงมีผู้มีประสบการณ์ในการต่อเรือและทำใบเรือ ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร เป็นหน่วยงานด้านการบริการวิชาการและการศึกษา มุ่งให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ ฟื้นฟูและเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมของชาติ จึงเกิดแนวคิดร่วมระหว่างคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยฯ และกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ผู้สนใจเรื่องเรือใบโบราณจัดตั้ง “ชมรมรักษ์เรือใบโบราณละแม” เพื่อร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทเรือใบโบราณ โดยเสนอผ่านกิจกรรมเปิดโลกทะเลละแม ครั้งที่ 1 ด้วยการจัดการแข่งขันเรือใบโบราณขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2543 จนปัจจุบัน

จากการสำรวจพบว่า เรือใบโบราณในเขตพื้นที่ตำบลละแมนั้นในอดีตนั้นมีไว้สำหรับการขนส่งสินค้าทางทะเลนั้นเองเพราะเป็นการสันจรที่สะดวกในอดีต ประกอบกับพื้นที่ตำบลละแมอยู่ติดชายฝั่งทางทะเลทำให้สะดวกมากไม่ว่าจะเป็นการขนสินค้ามาขาย หรือใช้สอยในชีวิตประจำวันไม่จะเป็นการหาปลาในทะเล แต่ในปัจจุบันนั้นได้มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาเลื่อยๆโดยการติดเครื่องยนต์ที่ตัวเรือเพื่อเพิ่มความเร็วและใช้งานได้สะดวกและมีการเปลี่ยนรูปทรงของเรือขึ้นมาเลื่อยๆแต่ทั้งนี้เรือใบโบราณมีความสำคัญกับพื้นที่ในละแมมากเพราะคือภูมิปัญญาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันที่มีคุณค่าแก่การศึกษาและอนุรักษ์ไว้



รวบรวมข้อมูลโดย อาจารย์ ดร.เชษฐ์ ใจเพชร

ขั้นตอนภูมิปัญญา

ขั้นตอนที่ 1
การทำเรือใบแต่ละครั้งขั้นตอนเริ่มแรกเลยคือการหาไม้ที่แข็งแรงและทนทานดั่ง เช่น ไม้ตะเคียนทอง ไม้สัก ไม้เคี่ยมนั้นเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ไม้ตะเคียนทองเพราะมีความแข็งแรง แน่นหนาทนทานต่อแดด ลม น้ำทะเล เป็นไม้ที่หาได้ในพื้นที่ตำบลละแม แต่ต้องมีอายุของไม้ 10 ปีขึ้นเท่านั้นเพื่อความแข็งแรงและไม้เคี่ยมเป็นอีกพันธ์ไม้ที่หาง่ายที่สุดเพราะอยู่ตามชายทะเลทั่วไป เลือกไม้ที่เหมาะสมกับการทำเรือใบโบราณได้แล้วหลังจากนั้นเลื้อยไม้เป็นแผ่นๆเพื่อที่จะโครงสร้างส่วนต่างๆของเรือ
ขั้นตอนที่ 2
หลังจากที่ได้ไม้แล้วตั้งโครงสร้างเรือให้เป็นกระดูกงูดั่งรูปส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญของเรือเพราะหากไม้ในส่วนของโครงกระดูกงูไม่แน่นพอส่วนประกอบอื่นก็ไม่สำเร็จได้เช่นกัน ขั้นตอนต่อไปคือการทำแคมเรือ ส่วนที่ใช้สำหรับกันกระแทกตัวเรือ เปรียบเสมือนกันชนของรถ ทำโดยใช้ไม้ชนิดเดียวกันกับที่ลำเรือ ขนาดตามความยาวของเรือโดยใช้ตะปูตอกยึดติดกับลำเรือ จากหัวมาท้าย
ขั้นตอนที่ 3
หางเสือเรือ ใช้สำหรับบังคับทิศทางเรือ มีส่วนประกอบคือ คันจับมีไว้สำหรับบังคับหางเรือทำด้วยเหล็ก
ขั้นตอนที่ 4
การทำที่ใส่เสาใบเรือ ทำจากไม้แผ่นเดียวเจาะเป็นรูตรงกลางแผ่นไม้สำหรับใส่เสาใบเรือ โดยบากให้เป็นช่องด้าน ซ้าย-ขวา
ขั้นตอนที่ 5
การใส่ใบเรือ ในอดีตใบเรือจะทำโดยใช้ผ้าดิบ นำมาย้อมกับเปลือกไม้ตะบูนเพื่อความสวยงาม ทนทาน แต่ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงมาใช้ผ้าร่มอทน เพราะผ้าร่ม น้ำนักเบา ไม่อุ้มน้ำ ทำความเร็วดี และเก็บลมได้มากกว่าผ้าดิบ โดยนำผ้าร่มมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ตามขนาดที่ต้องการ เมือทุกอย่างเสร็จสมบูรณ์สามารถแล่นเรือในทะเลได้ ทั้งนี้เรือใบขึ้นอยู่กับลมในการแล่นเรือ